โรคกลัวความรัก

in #thai6 years ago (edited)

"โรคกกลัวกลัวความรัก"หรือ"โรคหวงความโสด
"
โรคแบบนี้มันมีอยู่ในโลกด้วยหรอ?? หรือเป็นแค่โรคของพวกที่มโนเพราะไม่อยากให้ใครมองว่าขึ้นตัวเองจะขึ้นคานหรือเปล่า!?

พิมพ์ไทยบนภาพ2.0-1518644228877.png

ไหนๆพรุ่งนี้ก็เป็นวันแห่งความรักแล้ว สำหรับคนมีคู่ก็มีความสุขกันไป แต่สำหรับคนโสดบางพวกล่ะ จะเป็นแบบนี้กันหรือเปล่า?!

รู้ไหมว่า"โรคกลัวความรัก "เนี่ยสามารถเกิดขึ้น
ได้ทั่วไป และเป็นหนึ่งในอาการความกลัวทางจิตเวชที่มีผู้ป่วยมากเป็นอันดับต้นๆเลยนะ!

Philophobia คืออะไร?
คำว่า Philo ที่มาจากภาษากรีก แปลว่า ความรัก ดังนั้นมันก็คือ โรคกลัวความรัก นั่นเอง การกลัวความรู้สึกผูกพันกับคนรอบข้างในทุกสถานนะ และจะปิดกั้นตัวเองจากการรู้จักลึกซึ้งกับบุคคล
อื่นพยายามที่จะไม่ให้ตัวเองรู้สึกว่ารักใคร หรือรู้สึกพิเศษกับใครเลยสักคนต่อให้ในบางครั้งจะรู้สึกดีกับใครขึ้นมาบ้างแต่สุดท้ายก็จะไม่ยอมเปิดใจและถอยห่างออกมาโดยไม่ทราบสาเหตุ

IMG_20180214_035846.jpg

สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง?
สิ่งที่สามารถทำให้คนเราเป็นโรคนี้ได้อาจเกิดขึ้นมาจากอะไรบ้าง?

1.เหตุการณ์ในแง่ลบที่ฝังใจมาตั้งแต่เด็ก: โดยเฉพาะคนที่โตมาในครอบครัวที่มีความแตกแยกเกิดขึ้น พ่อแม่หย่าร้าง ทะเลาะตบตีกันให้เห็น หรือ
คนใกล้ตัวที่มีชีวิตรักไปในทางที่ไม่ค่อยดี จะทำให้เราจำภาพนั้นและฝังเข้าไปในความคิดของตัวเองได้โดยไม่รู้ตัว

2.วัฒนธรรม หรือศาสนา ที่มีข้อห้ามเกี่ยว
กับความรัก : ศาสนาหรือขนบประเพณีของบาง
แห่งอาจมีข้อห้ามหรือกรอบกฎเกณฑ์บังคับเอาไว้ให้กับความรักอย่างชัดเจนหรือพ่อแม่ของอีกฝ่ายกีดกันทำให้ไม่สามารถรักกันได้ สิ่งนั้นอาจสร้างความกลัวและทำให้เราไม่ก ล้าเสี่ยงที่จะมีความรักกับใครอีก

3.การล้มเหลวในความรักซ้ำๆ : มีรักเมื่อไหร่ก็ต้อง
เจ็บปวดและเลิกรากันไปทุกทีเมื่อต้องเป็นอย่างนั้นอยู่ตลอดอาจทำให้คุณปฏิเสธที่จะมีรักครั้งใหม่ไปเลยก็ได้

4.รู้สึกว่าตัวเองหดหู่เห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ : ถ้าเป็นอย่างนั้นจะทำให้คุณคิดว่าตัวเราเองไม่มีค่าพอที่จะเหมาะสมกับใครสักคนเลือกที่จะไม่สร้างความสัมพันธ์กับใครอย่างลึกซึ้งต่อให้คนๆนั้นเป็นคนที่ชอบก็ตาม

IMG_20180214_044612.jpg

แล้วคุณล่ะป่วยเป็นโรคนี้หรือเปล่า

หากเริ่มสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคนี้หรือเปล่า ก็ลองไป
ดูกันเลยว่าสิ่งที่จะบอกว่าเป็นหรือไม่จะมีอะไรกันบ้าง

1.รู้สึกกังวลใจ หรือทนรับความรู้สึกไม่ได้ : ทุกครั้งที่เริ่มหวั่นไหวไปกับความรักจนบางทีอาจทำให้เกิดความเครียด

2.จะพยายามอย่างสุดโต่ง : หักห้ามใจตัวเองไม่ให้จมดิ่งลงไปกับความรู้สึกรัก

3.หลีกเลี่ยงสถานที่ที่เหล่าคู่รักชอบไปกัน : เช่น โรงหนัง สวนสาธารณะ

4.ชอบใช้ชีวิตคนเดียว : แต่ไม่ใช่เพราะว่ารักสันโดษ ทำไปเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองต้องไปเจอกับคนที่อาจทำให้รู้สึกหวั่นไหวได้

5.ไม่เปิดใจ : ปิดกั้นตัวเองไม่ให้ใครสามารถเข้ามา
ทำให้รู้สึกว่ารักได้

6.ประเมินคนรอบข้างว่าจริงใจหรือรักเรามากแค่ไหน : และจะมอบความรู้สึกเดียวกันกลับไปให้คนๆ นั้น เพราะกลัวว่าถ้าให้ไปมากกว่าคนอื่นอาจต้อง
เจอกับความผิดหวังได้

7.เวลาที่ต้องเจอกับบรรยากาศโรเมนติก หรือ
มีคนพยายามตามจีบเราอย่างชัดเจน : อาจมีอาการที่แสดงออกมาทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก หายใจติดขัด คลื่นไส้ หรือโดนเข้าหาหนักๆ ก็อาจเป็นลมได้

ถึงแม้ว่าโรคดังกล่าวจะไม่ได้ส่งผลต่อคนรอบข้างก็ตาม แต่หากปล่อยไว้มันก็จะสร้างปัญหาให้กับตัวเรา
เองได้ไม่มากก็น้อย ฉะนั้นหากเริ่มรู้สึกว่าตัวเองมีอา
การควรลองไปปรึกษาจิตแพทย์นะคะ
การไปพบจิตแพทย์นั้นไม่ได้แปลว่าบ้า
ขอบคุณที่อ่านจบและช่วยกดโหวตกันด้วยนะคะ