บริษัทไอทีสตาร์ตอัปจีนจ้างผู้หญิงทำงานตำแหน่ง “ผู้กระตุ้นโปรแกรมเมอร์” ('Programmer Motivator”)

in #thai6 years ago

บริษัทไอทีสตาร์ตอัปจีนพยายามดึงดูดผู้หญิงให้เข้ามาทำงานมากขึ้น แต่ไม่ใช่สำหรับตำแหน่งคนเขียนโค้ด วิศวกร หรือนักออกแบบ แต่เป็นตำแหน่งที่เรียกว่า “ผู้กระตุ้นโปรแกรมเมอร์” งานของพนักงานตำแหน่งนี้คือสร้างปฏิสัมพันธ์กับพนักงานเพศชาย เช่น ซื้ออาหารเช้าและนวด
.
มีบริษัทไอทีอย่างน้อย 7 แห่งที่ต้องการผู้กระตุ้นโปรแกรมเมอร์ แม้ว่าตัวเลขจะลดลงหลังเจอเสียงวิจารณ์ หนึ่งในนั้นคือ อาลีบาบา ที่เพิ่งลบโฆษณาประกาศหาพนักงานหญิงที่ ‘หน้าตาดี’
.
เว็บไซต์นิวยอร์กไทมส์เล่าถึงการทำงานตำแหน่งนี้ของเฉิน เยว่ (Shen Yue) บัณฑิตสาขาวิศวกรโยธาจากมหาวิทยาลัยในปักกิ่ง อายุ 25 ปี ที่ Chainfin.com ซึ่งเป็นบริษัททางการเงิน งานนี้เป็นส่วนผสมของงานหลายแบบ เช่น เป็นนักจิตวิทยา เป็นเชียร์ลีดเดอร์ ผู้หญิงถูกจ้างให้มาคุยและผ่อนคลายความเครียดให้กับคนเขียนโค้ดซึ่งเป็นเพศชาย เพราะสังคมจีนมีภาพจำว่างานโปรแกรมเมอร์เป็นของผู้ชายที่เนิร์ดและไม่เข้าสังคม

FB_IMG_1530182601555.jpg

เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่นๆ โฆษณาหางานของบริษัทไอทีขนาดใหญ่ของจีนเต็มไปด้วยอคติทางเพศ องค์กรฮิวแมนไรท์ วอททช์ รายงานว่า อาลีบาบาและเทนเซนต์พิมพ์โฆษณาหางานหลายครั้งที่ระบุว่า ต้องการ ‘ผู้หญิงสวย’ เข้ามาทำงานให้กับบริษัท การใช้ภาษาแบบนี้ในโฆษณาหางานเป็นเรื่องปกติในประเทศจีน ซึ่งมักจะเลือกปฏิบัติทางเพศและต้องการคุณสมบัติเฉพาะทางกายภาพเฉพาะกับผู้สมัครหญิง
.
เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา อาลีบาบาบอกว่าต้องการผู้จัดการฝ่ายขายสำหรับเว็บไซต์เถาเป่า (Taobao) เป็นผู้หญิงที่อายุ 28-35 ปี คนที่มี ‘หน้าตาและฐานะดี’ จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
.
ส่วนเดือนพฤศจิกายน ไป่ตู้ (Baidu) ประกาศหาพนักงานฝ่ายการตลาด ผู้ชายจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ ‘เพราะต้องเดินทางบ่อย’ และเหตุผลอื่นๆ อีก
.
ตัวแทนจากอาลีบาบากล่าวว่า บริษัทมีแนวปฏิบัติว่าด้วยความเท่าเทียมโดยไม่ขึ้นอยู่กับอคติทางเพศ “เราจะทบทวนแนวทางการประกาศหางานใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของเรา”​ และกล่าวว่า 1 ใน 3 ของผู้ก่อตั้งอาลีบาบา 18 คนเป็นผู้หญิง และมีผู้หญิงจำนวน 1 ใน 3 ที่ทำงานฝ่ายจัดการของบริษัท
.
ไป่ตู้แถลงว่าบริษัทมีพนักงานหญิง 45% ทั้งในระดับกลางและระดับอาวุโส
.
แม้จะมีกฎห้ามการเลือกปฏิบัติแต่มักไม่ค่อยบังคับใช้กัน หลายบริษัทประกาศหางานตรงๆ ว่า ต้องการผู้ชายมากกว่า เฉพาะผู้หญิงที่หน้าตาดีเท่านั้นจึงจะสมัครได้ เห็นได้ชัดว่าตำแหน่ง ‘ผู้กระตุ้นโปรแกรมเมอร์’ เป็นตำแหน่งที่ด้อยกว่างานของผู้ชาย
.
เฉิน คือหนึ่งในนั้น เธอมาจากจังหวัดทางตะวันออกเฉียงเหนือของปักกิ่ง ผมยาวสีดำ ผิวซีดขาว และทาอายแชโดว์สีแดงระหว่างอยู่ในสำนักงาน เธอมักจะยิ้มให้กับเพื่อนร่วมงาน พวกเขาเรียกเธอว่า เยว่เยว่ แปลว่า ความเบิกบานสนุกสนาน
.
พนักงานตำแหน่งนี้จะนั่งประจำอยู่ที่โต๊ะด้านหน้าของบริษัท จำเป็นต้องดูดี ผู้สมัครต้องพูดจาสุภาพ แต่งหน้าบางๆ และสูงเกิน 165 เซนติเมตร
.
สิ่งที่เฉินต้องทำคือจัดกิจกรรมต่างๆ สั่งขนมสำหรับช่วงพักดื่มน้ำชา คุยเล่นกับโปรแกรมเมอร์ เธออาจจะเรียกโปรแกรมเมอร์ไปที่ห้องประชุมแล้วถามเขาว่า “คุณต้องทำโอทีไหม” ก่อนที่จะฟังความวิตกกังวลของเขา
.
“พวกเขาต้องการคนคุยด้วย และจัดกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความกดดัน” เฉินกล่าว
.
ตัวอย่างเช่น ในวันศุกร์วันหนึ่ง เธอเข้าหา กัว เจินเจีย ที่ฟุบลงที่โต๊ะทำงานของเขา เฉินจึงถามว่าเขาปวดเอวจากการนั่งทำงานติดต่อกันนานๆ ใช่ไหม เมื่อเขาบอกว่าใช่ เพราะทำงานจนถึง 4-5 ทุ่มเมื่อสองสามวันก่อน “เจตนาที่บริษัทจ้างฉันก็เพื่อนวดคุณ แต่ฉันอาจจะนวดไม่ค่อยเก่งนะ” เฉินบอกเขา ก่อนที่ทั้งคู่จะหัวเราะออกมา เฉินเริ่มนวดไหล่ ตามด้วยหลัง ซึ่งกัวบอกว่าเขารู้สึกดีมาก
.
เธอปฏิเสธที่จะบอกเงินเดือน แต่ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลบอกว่าประมาณ 950 เหรียญสหรัฐต่อเดือน (ประมาณ 30,000 บาท)
.
สำหรับบริษัทสตาร์ตอัป การมีผู้กระตุ้นโปรแกรมเมอร์เป็นหนึ่งในสิ่งที่ดึงดูดนักเขียนโค้ดชาย ซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากท่ามกลางการเติบโตของอุตสาหกรรมไอทีในจีน
.
เฟิง จียี่ อายุ 31 ปี ที่ทำงานฝ่ายวิจัยและพัฒนาของ Chainfin.com กล่าวว่า เขาเคยรู้สึกอิจฉาเวลาที่เห็นรูปของ ‘ผู้กระตุ้นโปรแกรมเมอร์’ ที่ให้บริการพนักงานชายซึ่งประกาศอยู่ตามอินเทอร์เน็ต
.
“ตอนนี้เรามีแล้วหนึ่งคน” เขายังบอกว่า เฉินช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงาน เช่น การจัดงานวันเกิดและกระตุ้นโปรแกรมเมอร์ด้วยเกมต่างๆ เช่น ชักเย่อ หรือวิ่งกระสอบ
.
เฉินไม่รู้สึกว่านี่เป็นงานที่เหยียดเพศ สำหรับเธอ ผู้หญิงต้องพึ่งตัวเอง ทำงาน และเคารพตัวเอง แค่นั้นก็พอแล้ว
.
ส่วนโปรแกรมเมอร์ผู้หญิงคนหนึ่งในบริษัท ซึ่งก็ได้รับการนวดจากเฉินก็มองว่า นี่เป็นการ ‘แบ่งงานกันทำ’ แต่เธอก็บอกว่า บริษั

Sort:  

Hi! I am a robot. I just upvoted you! I found similar content that readers might be interested in:
https://www.facebook.com/ChinaExpertise/